สื่อการเรียนรู้,อินโฟกราฟิก,เพศวิถีศึกษา | June 20, 2017 ความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง เป็นสิ่งที่พบได้ทุกมุมโลก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรายังไม่ตระหนักถึงปัญหานี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะเรายังมีความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในความเป็นจริง ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสถูกทำร้าย ทุบตี หรือถูกข่มขืน ผู้หญิงที่มีฐานะยากจนได้รับผลกระทบรุนแรง เพราะมีโอกาสน้อยกว่าที่จะหลุดพ้นออกจากวงจรความรุนแรงด้วยปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพได้ด้วยตัวเอง ตรงกันข้าม จากสถิติพบว่า 2 ใน 3 ของคนที่ข่มขืนคือคนรู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดกับเหยื่อ หรือเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ไม่มีผู้หญิงคนไหนต้องรับผิดชอบกับการถูกข่มขืน การแต่งตัวโป๊ไม่ใช่ข้ออ้าง และจากสถิติพบว่าที่ผู้หญิงไม่สามารถขัดขืนได้นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ชายมีอาวุธ หรือทำร้ายร่างกายจนเธอต้องยอมจำนน ข้ออ้างที่เราได้ยินบ่อยมาก คือ เมื่อผู้ชายมีอารมณ์ทางเพศแล้ว จะหยุดไม่ได้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชายที่ต้องปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศทุกครั้ง ทำให้สังคมมองว่าการบังคับขืนใจผู้หญิงที่เกิดขึ้นเป็นผลจาก “ธรรมชาติของผู้ชาย” จึงถือเป็นเรื่องปกติ สังคมส่วนใหญ่ยังมองว่าการที่สามีบังคับให้ภรรยามีเพศสัมพันธ์ ดุด่า ทุบตีร่างกายภรรยา ไม่ถือเป็นความผิด ไม่เป็นการข่มขืน โดยในหลายประเทศยังคงไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ประเทศในแถบแอฟริกาหลายประเทศที่เกิดสงคราม ไม่เพียงแต่เกณฑ์ผู้ชายให้เข้าร่วมรบ แต่ยังใช้ ผู้หญิงเป็นเหมือน “อาวุธทางสงคราม” โดยการข่มขืน ทำร้ายร่างกาย จนหลายประเทศได้ชื่อว่า “เมืองหลวงของโลกแห่งการข่มขืน” ทว่าในความเป็นจริง ประเทศ 1 ใน 3 ของโลกไม่มีบทลงโทษ กฎหมายที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้มีผู้หญิงกว่า 600 ล้านคน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จากรายงานของหน่วยงานในองค์การสหประชาชาติ พบว่า 1 ใน 4 ของผู้ชายทั่วโลกมีประสบการณ์ใช้ความรุนแรงกับคู่ของตัวเอง และ 1 ใน 10 ของผู้หญิง เคยมีประสบการณ์ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ตลอดช่วงชีวิตของตนเอง โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ข่มขืน” ผู้หญิงและเด็กของหลายประเทศในโลกพบกับความรุนแรงรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกบังคับขืนใจ หลายประเทศมีความเชื่อว่าผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศต้องรับผิดชอบโดยถูกสาดน้ำกรด ถูกเผา หรือ ตัวอย่างของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเพราะต้องการให้ทุกคนได้รับการศึกษา ซึ่งเรารู้จักกันทั่วโลกคือ มาลาลา ยูซาฟไซ ในปี 2014 มีรายงานว่า คนจำนวนเป็นล้านถูกซื้อขายไปเป็นทาส เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ และในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงถึง 2 ล้านคนที่ถูกนำไปค้าทาสเพื่อให้บริการทางเพศ จากรายงานขององค์การ CARE พบว่า เด็กอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่า ราว 51 ล้านคนในกลุ่มประเทศยากจนที่ถูกจับแต่งงาน หากจำนวนตัวเลขนี้ยังไม่ลดลง แปลว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โลกจะมีเด็กหญิงที่แต่งงานถึง 100 ล้านคน หรือแต่ละวันจะมีเด็ก 25,000 คนแต่งงาน รายงานขององค์การ CARE พบว่า การขลิบอวัยวะเพศหญิงนั้นเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกและปฏิบัติกันมานาน จึงทำให้ผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจว่าการขลิบอวัยวะเพศหญิงจะทำให้เธอได้แต่งงาน และไม่นำความอับอายมาสู่ครอบครัว และความเชื่อนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่ในประเทศยากจนแถบแอฟริกา หรือในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แต่ยังพบได้ในกลุ่มแรงงานอพยพที่ย้ายมาอยู่อิตาลี และอังกฤษด้วย (มีรายงานว่าในอังกฤษ พบเด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีถูกขลิบอวัยวะเพศหญิงถึง 20,000 คน ในแต่ละปี) จากการรวบรวมรายงานใน วิกิมีเดีย พบว่า ผู้ชายทั่วโลกก้าวเข้ามามีบทบาทและริเริ่มในการเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อเพศหญิงกันมากขึ้น ล่าสุดคือในตุรกี ผู้ชายมุสลิมออกมาเดินตามท้องถนน เพื่อรณรงค์ให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยใช้สัญลักษณ์คือ ผู้ชายทุกคนนุ่งกระโปรงสั้นของผู้หญิง อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา คือผู้นำที่แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าต้องการหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยได้ลงนามบังคับใช้กฎหมายต่อต้านความรุนแรงผู้หญิงฉบับใหม่ที่เพิ่มความเข้มแข็งของระบบยุติธรรมในการจัดการกับอาชญากรรมต่อผู้หญิง รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางเพศและการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ยังเพิ่มงบช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง และยังขยายโอกาสรับสิทธิประโยชน์แก่กลุ่มคนรักเพศเดียวกันด้วย และให้อำนาจศาลชนพื้นเมืองอินเดียนแดงสามารถดำเนินคดีกับคนต่างเชื้อชาติที่ เข้าไปก่อคดีกับคนในเขตอนุรักษ์ชนพื้นเมือง ภาพของเหยื่อที่ถูกกระทำความรุนแรงและรอดชีวิต มักถูกมองว่าต้องเป็นคนอ่อนแอ เปราะบาง เก็บตัว ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ แต่หากเข้าไปดูในเวบไซต์ One Billion Rising ซึ่งเป็นโครงการที่รณรงค์ให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เราจะพบเรื่องเล่าการออกมาเรียกร้อง รณรงค์ โดยใช้ประสบการณ์ของผู้หญิงทั่วโลกทั้งที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากมายหลากหลาย เพื่อปกป้องไม่ให้คนอื่นต้องตกเป็นเหยื่อแบบที่เธอเคยถูกกระทำ * เรียบเรียงจาก 16 Myths surrounding violence against women & girls ดาวน์โหลดอินโฟกราฟฟิกฉบับเต็ม print เรียนรู้เข้าใจความหลากหลายทางเพศผ่านวิดิโอ AMAZE “สุขไร้เสี่ยง” โครงการเติมเต็ม ‘สิทธิในการมีเพศสัมพันธ์’ ให้กับผู้พิการ